Home Standby Batteries Products Fire Protection Products About Us Service Promotion    

 

 

การทำงาน
การนำไปใช้งาน
ข้อมูลด้านเทคนิค
ลักษณะเด่น
 

PYROGEN
ระบบดับเพลิงอัตโนมัติสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้า, คอมพิวเตอร์, สื่อสาร


รูปแบบใหม่ของระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
- ติดตั้งง่ายไม่ต้องเดินท่อก๊าซ เพียงเดินสายไฟฟ้าจากตู้ควบคุมไปที่ถังแต่ละถัง
- ถังที่ไม่มีแรงดันจึงไม่ต้องกังวลเรื่องก๊าซรั่วออกจากถังเช่นระบบอื่น
- ไม่นำไฟฟ้าและไม่ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียหาย
- ประหยัดพื้นที่เก็บถังโดยเราสามารถนำถัง
Pyrogen ที่มีขนาดเล็กไปติดตั้งบนเพดาน, ผนัง,ใต้พื้นยกหรือในตู้ไฟฟ้าได้เลย
- เคลื่อนย้าย เปลี่ยนแปลงในอนาคตทำได้ง่ายเนื่องจากไม่ต้องเดินท่อก๊าซ
- ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมกล่าวคือไม่ทำลายโอโซนและไม่ทำให้โลกร้อน (ค่า
ODP=0 และ GWP=0)

 
ารดับเพลิง PYROGEN (ย่อมาจาก Pyrotechnically Generated) เป็นสารดับเพลิงที่ไม่นำไฟฟ้า ได้รับการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาจากแนวความคิดของเชื้อเพลิงที่ใช้ในจรวด โดยเมื่อเก็บรักษาจะอยู่ในรูปของแข็ง ต่อเมื่อใช้งานหรือทำปฏิกิริยา ก็จะกลายสภาพเป็นส่วนผสมของก๊าซ มีลักษณะการกระจายทั่วทิศทางจนเต็มพื้นที่ป้องกัน

PYROGEN มีลักษณะเป็นถังสามารถทำงานคือฉีดสารดับเพลิงออกมาได้ด้วยตัวของมันเอง จัดว่าเป็นสารดับเพลิงที่มีประสิทธิภาพสารหนึ่งที่นำมาใช้ทดแทน
HALON ที่ถูกห้ามใช้งานไป

PYROGEN ใช้หลักการดับเพลิงทางเคมี โดยใช้กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนเพื่อทำให้สาร Pyrogen ที่อยู่ในรูปของแข็งเกิดปฏิกิริยาเคมี กลายสภาพเป็นส่วนผสมของควันและก๊าซฉีดออกมาด้วยแรงดันจาก ตัวถังฟุ้งกระจายไปทั่วปริมาตรของห้องที่ต้องการดับเพลิง โดยในส่วนของควันที่เกิดขึ้นมีส่วนผสมหลักเป็นอนุภาคของ โปแตสเซียมคอร์บอเนต ที่มีขนาดอนุภาคใกล้เคียงกับอากาศ ส่วนที่เป็นก๊าซเป็นส่วนผสมของก๊าซาร์บอนไดออกไซด์, ก๊าซไนโตรเจนและไอน้ำรวมอยู่ด้วยกัน หรือเราอาจเรียกส่วนผสมของก๊าซและควันดังกล่าวว่า aerosol

ก่อนที่ Pyrogen จะถูกฉีดออกมานอกถังจะถูกดูดซับความร้อนที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาเคมีด้วย Chemical Coolant ที่ถูกบรรจุอยู่ในถัง Pyrogen นอกจากนั้น Chemical Coolant ยังทำหน้าที่จัดเรียงสาร Pyrogen ที่ถูกฉีดออกมาให้มีความสม่ำเสมอด้วย

สาร Pyrogen ในรูปของแข็งจะถูกบรรจุอยู่ในถังรวมกับ Chemical Coolant และอุปกรณ์จุดระเบิด พร้อมฝาปิดที่เจาะรูพรุนไว้เพื่อให้สาร Pyrogen ฉีดออกมา ซึ่ง Pyrogen แต่ละรุ่นก็จะมีปริมาณสารและขนาดไม่เท่ากันเพื่อสามารถเลือกใช้งานตามขนาดของพื้นที่ป้องกัน

เนื่องจากสาร Pyrogen ที่บรรจุถังอยู่ในรูปของแข็งจึงไม่ต้องการการอัดแรงดันใดๆเ หมือนเช่นสารอื่นๆที่บรรจุอยู่ในสถานะของเหลวหรือก๊าซ ถัง Pyrogen จึงเป็นถังไร้แรงดัน แต่จะมีแรงดันก็ต่อเมื่อเกิดปฏิกิริยาเคมีทำให้สาร Pyrogen กลายสภาพเป็นก๊าซพร้อมสร้างแรงดันที่เกิดจากปฏิกิริยาเคมีฉีดตัวมันเองออกมาจากถัง ระบบ Pyrogen จึงไม่ต้องมีการเดินท่อก๊าซด้วย แต่จะติดตั้งโดยนำถังไปติดในพื้นที่ป้องกันโดยตรงโดยให้มีมีปริมาณสารมากพอตามค่าการออกแบบ ตัวอย่างเช่นหากพื้นที่ใหญ่ ก็อาจต้องใช้ถังใหญ่ขึ้นจำนวนหลายถังติดกระจายทั่วพื้นที่ป้องกัน

VESDA
เวสด้า (ย่อมาจาก Very Early Smoke Detection Apparatus V E S D A) หมายถึงอุปกรณ์ตรวจจับควันที่สามารถตรวจจับควันได้ก่อนล่วงหน้า ซึ่งตามจริงแล้ว เครื่องเวสด้าก็สามารถทำงานได้ตามความหมายของมันจริงๆ โดยเมื่อเราปรับความไวของเครื่องให้ไวมาก (สามารถปรับความไวให้ไวมากหรือช้ามากก็ได้ตามสภาพอากาศของห้อง) เครื่องจะสามารถตรวจจับควันได้ตั้งแต่ระยะที่เรายังมองไม่เห็นควันได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งเป็นจุดเริ่มของการเกิดเพลิงไหม้ เช่นเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรจนฉนวนหุ้มสายไฟฟ้าร้อนจนหลอมเป็นไอลอยเข้าไปในระบบสุ่มสำรวจของเวสด้า เครื่องเวสด้าก็จะแจ้งเตือนให้เราทราบโดยทันที เราจึงมีเวลาพอที่จะเข้าไปตรวจ
สอบและระงับสาเหตุของเพลิงไหม้ได้ทันก่อนที่จะลุกลามกลายเป็นเหตุการณ์เพลิงไหม้ใหญ่โตจนยากแก่การควบคุมระบบเวสด้าจะเป็นลักษณะการเดินท่อสุมสำรวจจากเครื่องตรวจจับควันเพียงเครื่องเดียวซึ่งภายในมีปั๊มดูดอากาศ ไปยังส่วนต่างๆของพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อดูดอากาศจากพื้นที่เหล่านั้นเพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์ในเครื่องตรวจจับควัน เราสามารถเรียกชื่อระบบเวสด้าได้อีกชื่อหนึ่งคือระบบตรวจจับควันแบบใช้เครือข่ายท่อสุ่มสำรวจดูดอากาศ (Aspirating Smoke Detector)

รูปข้างบนน่าจะเป็นบทสรุปที่ดีที่สุดที่แสดงให้เห็นถึงสาเหตุที่เราต้องเลือกใช้เวสด้าแทนที่จะใช้อุปกรณ์ตรวจจับควันระบบอื่น เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์เหตุการณ์เพลิงไหม้ที่เกิดกับอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยมีผลสรุปว่าการเกิดอัคคีภัยสามารถแบ่งได้เป็น 4 ระยะ
ระยะที่ 1 เป็นระยะเริ่มแรกซึ่งเราไม่สามารถมองเห็นควัน ได้ด้วยตาเปล่า ระยะนี้จะกินเวลาประมาณ 5 ชั่วโมง
ระยะที่ 2 เป็นระยะที่เราสามารถสังเกตุเห็นควันได้ด้วยตาเปล่าใช้เวลาประมาณ 10 นาที
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่เริ่มเกิดเป็นเปลวไฟจะใช้เวลาประมาณ 10 นาทีอีกเช่นกัน
ระยะที่ 4 ซึ่งเป็นระยะสุดท้ายเป็นระยะที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ลุกลามจนยากแก่การควบคุม
จากความเป็นจริงของการเกิดเพลิงไหม้ดังกล่าว จะเห็นว่าจะมีประโยชน์มากหากเราสามารถทราบเหตุเพลิงไหม้ได้ตั้งแต่ระยะที่ 1 ซึ่งเรามีเวลาเตรียมพร้อมหรือค้นหาต้นเหตุของไฟไหม้และระงับได้ทันเนื่องจากระยะนี้จะกินเวลาถึง 5 ชั่วโมง ส่วนการรู้ถึงความผิดปกติที่ระยะที่ 2 ขึ้นไปนั้น ดูจะเป็นการเปล่าประโยชน์เนื่องจากเพลิงได้ลุกลามไปมากแล้ว ยากแก่การควบคุม จึงเป็นสาเหตุที่มีการคิดค้นระบบเวสด้าขึ้นมาเพื่อให้สามารถตรวจจับควันได้ตั้งแต่ระยะที่ 1 ส่วนเครื่องตรวจจับควัน แบบธรรมดาจะทำงานที่ระยะที่ 2 ซึ่งสายเกินไปที่จะควบคุมสถานการณ์ได้
เราสามารถเปรียบเทียบความไวของเครื่องตรวจจับควันชนิดต่างๆได้ดังนี้
Vesda: 0.005-20% Obscuration per metre
Ionization: 3.0-11% Obscuration per metre
Photoelectric: 6.0-15% Obscuration per metre
Beam: 3.0% obscuration per metre
จะเห็นว่าเวสด้าสามารถปรับความไวให้ไวกว่าเครื่องตรวจจับควันแบบอื่นได้เกือบหนึ่งพันเท่า นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมเวสด้าจึงสามารถแจ้งเตือนอัคคีภัยได้ก่อนล่วงหน้า
หมายเหตุ: หน่วย obscuration per metre คือค่าเปอร์เซ็นต์ความบดบังการมองเห็นของเราที่ระยะ 1 เมตร เช่น ค่า 100% obscuration per metreหมายถึงเราจะไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ข้างหน้าที่ระยะ 1 เมตรเลย แต่อาจจะยังมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้กว่าระยะ 1 เมตร

อ่านต่อ

 

บริษัทไซเทค โพเวน (ประเทศไทย) จำกัด
ที่อยู่ เลขที่ 6 ซอยทรายทอง 2/1 ถนนติวานนท์ ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
Citec Powen (Thailand) Limited
โทรศัพท์ 02-5919918 โทรสาร 02-5881228 E-mail: piyaporn@citec.co.th, titirat@citec.co.th